วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำสถานที่พัก

ชื่อโรงแรม : โรงแรมเกษสิริ
สถานที่ : เมือง ศรีสะเกษ
ราคา : 600 - 1,600 บาท
ที่อยู่ : 1102–05 ถ.ขุขันธ์ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4561 4006-7
จำนวนห้อง : 93 ห้อง
เว็บไซต์ : www.kessiri.com
อีเมลล์ : thada_lim@yahoo.com



ชื่อโรงแรม : โรงแรม ไทยเสริมไทย :: English Version ::
สถานที่ : เมือง ศรีสะเกษ
ระดับ : ไม่มีข้อมูล
ราคา : 180 - 350 บาท
ที่อยู่ : 147/5 ถ.ศรีสะเกษ ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4561 3478
จำนวนห้อง : 32 ห้อง

ชื่อโรงแรม : โรงแรม พรหมพิมาน :: English Version ::
สถานที่ : เมือง ศรีสะเกษ
ระดับ : ไม่มีข้อมูล
ราคา : 600 - 1,500 บาท
ที่อยู่ : 849/1 ถ.หลักเมือง ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4561 2271
จำนวนห้อง : 188 ห้อง



ชื่อโรงแรม : ราษี รีสอร์ท :: English Version ::
สถานที่ : ราษีไศล ศรีสะเกษ
ระดับ : ไม่มีข้อมูล
ราคา : 200 - 400 บาท
ที่อยู่ : 179 หมู่ 5 ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 33160
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4568 1223, 08 7243 0527
จำนวนห้อง : 10 ห้อง


ชื่อโรงแรม : สวนปาล์ม รีสอร์ท
สถานที่ : เมือง สุรินทร์
ระดับ : ไม่มีข้อมูล
ราคา : 450 - 500 บาท
ที่อยู่ : 234 ถนนสุรินทร์-บุรีรัมย์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
เบอร์โทรศัพท์ : 0 4451 9456-7
จำนวนห้อง : 48 ห้อง

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผนที่

หน่วยงานในองค์กร

ข้อมูลบุคคลากร


นายเสถียร นิ่มนึก
คนสวน


นายบัญชา นามวงษ์
นักการภารโรง


นางกิตติยา ขันคำ
ผช.ธุรการ.


นางเพลินจิตร เบ็ญจรูญ
จนท.วิเคราะห์ฯ


นายเด่นศักดิ์ นามวงษ์
จนท.บันทึกข้อมูล



นางสมวุฒิ ดวงแก้ว
จพ.ธุรการ


นายอรุณ นามสาย
นิติกร.


นางพัฒนิดา ดีพูน
ปลัด อบต.





สินค้าOTOP



รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 330207-B001
รหัสโอทอป (OPC): 33020016
ผลิตภัณฑ์ (Product) ครองแครงกรอบ
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ครองแครงกรอบ (รหัสโอทอป 330200164903)
สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552
ประเภทผลิตภัณฑ์ : อาหาร
ระดับดาว : 3 ดาว
มาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (มผช.) : 267/2547
สถานที่จำหน่าย
กลุ่มแม่บ้านอาหาร และขนม
9 หมู่ 1 ตำบลยางชุมใหญ่ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 33190
ติดต่อ : คุณคำปุ่น นามวงษ์
โทร : 08 5658 9134


รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 330207-C001
รหัสโอทอป (OPC): 33020003
ผลิตภัณฑ์ (Product) เบาะรองนั่ง
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
เบาะรองนั่ง (รหัสโอทอป 330200034901)
สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ของใช้ ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึก
ระดับดาว : 2 ดาว

รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 330202-C001
รหัสโอทอป (OPC): 33020008
ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าทอลายลูกแก้ว
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผ้าทอลายลูกแก้ว (รหัสโอทอป 330200084701)
สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย
ระดับดาว : 2 ดาว




รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 330202-B001
รหัสโอทอป (OPC): 33020006
ผลิตภัณฑ์ (Product) ผ้าไหมมัดหมี่
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผ้าไหมมัดหมี่ (รหัสโอทอป 330200065202)
สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ผ้า เครื่องแต่งกาย
ระดับดาว : 3 ดาว





รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 330201-B001
รหัสโอทอป (OPC): 33020023
ผลิตภัณฑ์ (Product) หอมแดง
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
หอมแดง (รหัสโอทอป 330200235201)
สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552
ประเภทผลิตภัณฑ์ : อาหาร
ระดับดาว : 3 ดาว







รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 330201-A001
รหัสโอทอป (OPC): 33020012
ผลิตภัณฑ์ (Product) กระเทียมโทนดองนำผึ้ง
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
กระเทียมโทนดองนำผึ้ง (รหัสโอทอป 330200124701)
สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2552
ประเภทผลิตภัณฑ์ : อาหาร
ระดับดาว : 3 ดาว















ภาพกิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟ


































งานประเพณี

งานประเพณี งานต่างๆ
งานเทศกาลหอมแดง ของดียางชุม
เทศกาลหอมแดง ของดียางชุม ถือเป็นงานเทศกาลที่จัดขึ้นทุกปี เนื่องจากว่าชาวอำเภอยางชุมน้อยปลูกหอม กระเทียมเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นจำนวนมาก และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับเกษตรกร ในงานจะมีการประกวดกิจกรรมทางด้านการเกษตร การแข่งขันกีฬา การประกวดธิดาหอมแดง และอื่นๆอีกมากมาย กำหนดจัดงานประมาณ เดือน มีนาคมของทุกปี


หอมแดง
หอมแดง (Shallot) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum Linn. อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีสมาชิกหลายร้อยชนิด เช่น หอมใหญ่ ต้นหอม หอมจีน กระเทียม กระเทียมใบ เป็นต้นในหอมแดงสดจะประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย ไดอัลวินไดรซัลไฟด์ (Diallyltrisulfide) เช่นเดียวกับที่พบในกระเทียม ฟลาโวนอยด์ (Flavonid) กลัยโคไซด์ (Glycosides) เพคติน(Pectin) และ กลูโคคินิน (Glucokinin) สรรพคุณทางยาฟลาโวนอยด์ในหอมแดง มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การบริโภคหอมแดงเป็นประจำจึงสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นลดไขมันในเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจสามารถป้องกันการติดเชื้อ และช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้ ทำให้เจริญอาหาร และช่วยย่อยอาหาร ทั้งนี้ ฟลาโวนอยด์ปริมาณสูงมากๆ นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจแล้ว ยังลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ด้วยสารต่างๆ ดังกล่าวในหอมแดงยังมีคุณสมบัติด้านหรือยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ศึกษาโดยใช้น้ำหอมหัวแดงถนอมเนื้อหมูสดโดยใช้เนื้อหมูขนาด 3x3x1 นิ้ว คั้นเอาน้ำหัวหอมประมาณ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร วางเนื้อหมูลงในภาชนะ เติมน้ำหัวหอมแดงให้ท่วมเนื้อหมู แล้วเก็บใส่กล่องพลาสติกปิดฝา หรือใช้ใบตอง หรือถุงพลาสติกห่อไว้ ผลที่ออกมาหอมแดงจะถนอมเนื้อหมูไม่ให้บูดเน่าได้ก่อนนำไปประกอบอาหารอย่างน้อย 5 วัน โดยไม่ต้องแช่เย็น แต่เนื้อหมูอาจมีสีซีดลงไปบ้างในหอมแดงยังมีธาตุฟอสฟอรัสปริมาณสูง ช่วยให้มีความจำดี นอกจากนี้หอมยังใช้บำรุงรักษาหน้าได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ ทุบหรือฝานหอมแดงให้เป็นแว่นบางๆ ทาบริเวณที่เป็นสิว ฝ้า หรือจุดด่างดำ เพียงไม่กี่สัปดาห์ก็เห็นผลการรับประทานหอมไม่มีอันตรายหรือผลข้างเคียง แต่เป็นผลดีกับร่างกายมากกว่าเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี ในหอมแดง 100 กรัม มีโปรตีน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม น้ำตาลหลายๆ ชนิดรวม 10.6 กรัม และมีพลังงานเพียง 50-30 แคลอรีเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมวงศ์ซึ่งละม้ายกันยิ่งแต่ขนาดโตกว่า คือหอมใหญ่ หอมแดงมีคุณสมบัติคล้ายหอมใหญ่มาก แต่มีรสฉุนกว่า และมีความหวานมากกว่าหอมใหญ่ประมาณ 2 เท่า สำคัญที่สุดหอมแดงมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าหอมใหญ่ ดังนั้น ควรฝึกให้รู้จักรับประทานหอมแดงตั้งแต่ยังเด็ก บางคนรับประทานหอมไม่เป็นเพราะไม่ฝึกมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง

ประเพณีบุญบั้งไฟ
หรือประเพณียิงจรวดไทยขอฝนนี้ แต่เป็นฮีด(จารีต)สำคัญ ฮีดหนึ่งของชาวอีสานทั่วทั้งภูมิภาค ชาวคุ้มบ้านต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองนั้นให้ความสำคัญ และร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานอย่างแข็งขัน จนทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และในที่สุดด้วยความช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนอีกหลาย ๆ ส่วน
บุญบั้งไฟ จึงเลื่อนฐานะขึ้นเป็นประเพณีสำคัญของประเทศ เป็นตัวแทนจากภาคอีสานที่เชิดหน้าชูตาในด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาติ


รูปแบบประเพณี
ในวันนี้ ประเพณีบุญบั้งไฟ แบ่งงานออกเป็นงานใหญ่ ๆ สองงานด้วยกันคือวันแรก เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น. เป็นขบวนแห่บั้งไฟสวยงามไปตามถนนสายหลักใจกลางเมือง
ในวันนี้ชาวบ้านจากคุ้มต่าง ๆ จะนำบั้งไฟขึ้นขบวนรถที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเป็นลวดลายไทยงามวิจิตร นำแห่แหนด้วยขบวนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง บนขบวนรถบางทีจะเป็นธิดาบั้งไฟโก้ เทพบุตรเทพธดาตัวน้อย ๆ หรือแม้กระทั่งเรื่องราวจำลองจากนิยายพื้นบ้านปรัมปรา เช่นเรื่องท้าวผาแดง นางไอ่ เป็นต้น นอกจากนี้ที่จะขาดไม่ได้ก็คือขบวนรีวิวประเภทเนื้อหาสาระและตลกขบขันต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ชาวเมืองที่ต่างอายุกันได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอย่างเสมอหน้าและ มาประกวดประชันกันอย่งสนุกสนาน
ส่วนวันที่สองเริ่มแต่เช้าที่สวนพญาแถนเป็นการประกวดการจุดบั้งไฟ มีการประกวดบั้งไฟขึ้นสูงแบะยั้งไฟแฟนซีต่าง ๆ ในขณะที่ชาวบ้านชาวคุ้มต่าง ๆ ก็จะยกขบวนออกร้องรำทำเพลงกันตลอดทั้งวันอย่างสนุกสนาน

จุดเด่นของพิธีกรรม
จุดเด่นของการชมประเพณีบุญบั้งไฟ อยู่ที่ช่วงเช้าของวันแรกคือวันแห่บั้งไฟสวยงาม สามารถชมได้ที่ปะรำพอธีถนนใจกลางเมือง และช่วงเช้าวันที่สอง คือการจุดบั้งไฟขึ้นสูงที่สวนสาธารณะพญาแถน

ตำนานเรื่องเล่า
ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว
ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่
ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน
พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่นยีร หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันทีและถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว
และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญานแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก

ศิลป วัฒนธรรมและประเพณี

การละเล่นพื้นบ้านของชาวยางชุมใหญ่

12 เป็นจารีตประเพณี 12 เดือนที่ทุกคนในหมู่บ้านจะต้องเรียนรู้มีดังนี้
1. เดือนอ้ายหรือเดือนเจียง มีงานบุญเข้ากรรม มีงานบุญนำผ้าห่มกันหนาวไปถวายพระสงฆ์ ถ้าเปรียบเทียบกับเดือนไทยในปัจจุบันน่าจะอยู่ช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นฤดูหนาว ปัจจุบันจารีตประเพณีนี้ค่อนข้างจะจางหาย ในช่วงเดือนอ้ายนี้จะเป็นฤดูหนาวที่คนในหมู่บ้านกำลังมีงานที่ต้องทำจนวนมากในตอนกลางวันก็จะเก็บเกี่ยวข้าว หอม มัดหอม ตอนเย็นก็แขวนหอมช่วยเพื่อนบ้าน แทบไม่ได้หลับไม่ได้นอน สำหรับคนทำงาน ส่วนเด็กวัยรุ่นก็จะนำวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ เช่น วันคริสต์มาส วันส่งท้ายปีเก่า
2. เดือนยี่ ประมาณเดือนมกราคม มีงานคูณลาน ทำบุญที่วัด นิมนต์พระสงฆ์เทศนาเรื่องพระแม่โพสพ บำรุงขวัญการเกษตร ทำพิธีปลงข้าวในลาน แล้วขนข้าวขึ้นฉาง ( เล้า ) บางครอบครัวยังนับถือประเพณีอันดีอยู่ ไม่ยอมขายข้าว จ่ายข้าว ถ้ายังไม่ได้ทำบุญ ถ้ายังไม่ได้เอาขึ้นเล้า เพื่อสร้างสิริมงคลให้ข้าวให้ขวัญกำลังใจผู้ปลูกข้าว มีผลผลิตที่ดี และให้รู้จักบุญคุณของข้าว แต่ปัจจุบันก็มีบางครอบครัวเริ่มขายข้าวเขียว คือไปกู้หนี้ยืมสินเขามา เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จยังมาไม่ถึงเล้าเจ้าของเงินเขามาเก็บแล้วจำเป็นต้องให้เขาไป หรือลูกหลานต้องการเงินใช้จ่าย เมื่อไม่มีเงินก็ต้องเอาไปขาย จนมีคำกล่าวว่าขายง่ายที่สุดไม่ต้องต่อรองราคาให้เสียเวลาก็คือขายข้าว ปัจจุบันเดือนยี่ก็จะมีบุญขึ้นบ้านใหม่ มีบุญประจำปีคูณลานข้าว หอม กระเทียม ที่วัด พร้อมกับทำบุญประจำปีเพื่อหารายได้สร้างวัด
3. เดือนสามมีบุญข้าวจี่ คืองานเลี้ยงลาตาแฮก หลังจากขนข้าวขึ้นยุ้งฉางแล้ว มีการแยกเรียกขวัญข้าว ( กู่ขวัญข้าว ) ชาวยางชุมใหญ่เป็นหมู่บ้านเกษตรกร มีข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะฉะนั่นข้าวจึงมีพระคุณต่อผู้คน จึงควรแสดงความกตัญญูกตเวที ไม่ลบหลู่บุญคุณของข้าว ทุกวันนี้มากกว่าครึ่งก็ยังรักษาจารีตประเพณีนี้อยู่ แต่ก็มีบางครอบครัวได้งดเว้นไป โดยเฉพาะครอบครัวคนรุ่นใหม่ วัยรุ่นจะเน้นวันวาเลนไทน์ วันแห่งความรักไปแบบฝรั่ง ช่วงเดือนสามเป็นเดือนแห่งการรับจ่ายเงินในครอบครัว ได้มีการขายหอม ขายข้าว และจ่ายหนี้ที่กู้ยืมมา ถ้าปีไหนเศรษฐกิจดีหน้าชื่นดีใจ แต่ถ้าปีไหนเศรษฐกิจไม่ดีก็เหงาไปตามกัน แต่เดือนสามก็คือเดือนแห่งความหวังของชาวบ้านทุกคน
4. เดือนสี่ มีพิธีทำบุญผะเวส และฟังเทศน์มหาชาติ บางปีก็ไปทำเอาเดือนห้า บางปีก็ลืม บางปีก็ตรงกับจารีตประเพณี เคยมีครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อชาวบ้านไม่ยอมทำบุญผะเวสจะเกิดเภทภัยต่างคนต่างโจษจันไปต่าง ๆ นานา ทุกวันนี้บุญนี้ก็ยังสืบสานกันต่อแต่ขาดความสสำคัญลงไป
5. เดือนห้า มีเทศกาลงานสงกรานต์ บางปีก็มีการจัดเป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่ มีการกราบไหว้ท่านผู้อาวุโสทำเป็นปีผู้อาวุโส บางปีก็ผ่านเลยไป จริง ๆ แล้วส่งกรานต์บ้านยางชุมใหญ่จะมีเวลายาวถึง 1 เดือน โดยจะเริ่มเอาพระลงสรงวัน 1 ค่ำเดือน 5 จนถึง 15 ค่ำเดือน 5 รวมเป็นเวลา 1 เดือน จะมีการละเล่นสงกรานต์ มีการตบประทาย มีการไปเล่นน้ำมูล ปัจจุบันจะเล่นกันจริง ๆ ตามที่รัฐบาลประกาศ คือประมาณ 3 วัน ช่วงวันที่ 12 – 14 เมษายน ของทุกปี เด็กวัยรุ่นชอบชวนกันไปอาบน้ำมูลที่ท่าห้วยครก ส่วนการพิธีของสงฆ์ การสรงพระจะดำเนินการตามปกติเช่นทุกปีตลอดมา ลูกหลานจะต้องตักน้ำไปให้ปู่ย่า ตายายอาบ ให้คนแก่อายุยืนและให้อวยพรลูกหลาน
6. เดือนหก มีงานบุญวิสาขบูชา บุญขอฝน บุญบั้งไฟ วันเพ็ญเดือนหกเป็นวันที่สำคัญยิ่งของศาสนาพุทธจะต้องมีการเวียนเทียนกันทุกปี และหลายครั้งกรรมการหมู่บ้านมักจะทำบุญผ้าป่าขึ้นโดยทำบุญบั้งไฟไปพร้อม ถ้าปีไหนมีบั้งไฟก็จะให้ความสำคัญของบัญบั้งไฟมากกว่า เน้นความสนุกสนาน และมักจะจัดแทบทุกปี ส่วนการเวียนเทียนช่วงค่ำนั้น ปัจจุบันมักจะเพี้ยนไปคือรีบเวียนเทียนรีบกลับบ้าน เพราะทุกวันนี้ผู้คนติดรายการโทรทัศน์ จึงไม่ยอมเสียเวลาในการเวียนเทียน และไม่ชอบให้พระเทศน์ให้ฟังยาว ๆ
7. เดือนเจ็ด มีงานบวชนาค เดิมทุกปีจะมีคนบาชจำนวนมาก ก็จะนัดหมายจัดงานบวชขึ้นพร้อมกัน แต่ปัจจุบันมีนาคน้อย การจัดงานก็ไม่ค่อยมี บางทีก็ไปบวชร่วมกับบ้านอื่น ประเพณีนี้ส่วนใหญ่ก็ยังมีการสืบสานต่อกันมาทุกปี
8. เดือนแปด มีเทศกาลงานเข้าพรรษาวันอาสาฬหบูชา เป็นงานหนึ่งที่ทางราชการได้ส่งเสริมเป็นพิเศษ โดยเฉพาะให้มีการตั้งตนให้อยู่ในศีล ละเว้นอบายมุข ประชาชนส่วนใหญ่ก็ให้ความสำคัญ มีการสร้างต้นเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน ในระหว่างอยู่พรรษาของพระสงฆ์ถือว่าได้กุศลยิ่ง
9. เดือนเก้า มีบุญข้าวประดับดิน ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เป็นการให้ทานแก่เปรต หรือวิญญาณที่ตกทุกข็ได้ยาก ก็เป็นบุญหนึ่งที่ได้มีการดำเนินกันมาทุกปี
10. เดือนสิบ มีการทำบุญข้าวสากหรือกระยาสารท ไปทำบุญที่วัด ถวายผ้าอาบน้ำฝน และเครื่องไทยทาน ( ทำสังฆทาน ) ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ถือได้ว่าคุณพ่อแม่ ปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้วมีโอกาสที่จะได้รับอาหารจากลูกหลานที่ไปทำบุญ หรือห้อยแขวนข้าวสาก
11. เดือนสิบเอ็ด มีงานบุญออกพรรษา มีการจัดงานใหญ่ มีบุญตักบาตรเทโว พิธีกวนข้าวทิพย์ แห่ปราสาทผึ้ง ไหลเรือไฟ แข่งเรือ บ้านยางชุมใหญ่ของเราจะให้ความสำคัญในการทำปราสาทผึ้เปรียบเทียบได้กับการสร้างบ้านเรือน ปราสาทราชวังให้ญาติที่เสียชีวิตไปได้มีโอกาสได้บ้านที่สวยงาม จึงมีปราสาทผึ้งจำนวนมาก เวลาไปแห่เทียนวันออกพรรษาจะมีผู้คนจำนวนมากแต่งตัวให้สวยงาม ถือได้ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่งและมีการสืบสานมาทุกปี และในช่วงนี้ลูกหลานก็มีโอกาสไปเยี่ยมปู่ย่า นำกล้วย ปลา ขนม อาหารไปให้ปู่ย่า อีกครั้งหนึ่ง
12. เดือนสิบสอง มีบุญกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญ ถ้าปีใดไม่มีคนจองกฐิน คณะกรรมการหมู่บ้านก็จะประชุมกัน สร้างกฐินสามัคคีเพื่อหารายได้สร้างวัด มักจะมีมหรสพสมโภช


เทศกาลหอมแดง